น้องหมา กินยาพารา 

ยาพาราเซตามอล เป็นยาสามัญที่มีติดเอาไว้แทบทุกบ้าน เนื่องจากการเจ็บป่วยไม่สบายเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ง่ายกว่าการเป็นโรคอื่นๆ รวมถึงอาการเบื้องต้นอย่างการเป็นไข้การกินยาพาราเซตามอลสามารถช่วยให้เราบรรเทาจากอาการเหล่านั้นได้ แต่ว่ายาเหล่านี้ก็มีข้อจำกัดในการใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้กับสัตว์เลี้ยงอย่างน้องหมา คุณรู้หรือไม่ว่าหมากินยาพาราเซตามอลเข้าไปอาจทำให้เสียชีวิตได้เลยนะหากรักษาไม่ทัน

               

ยาพาราเซตามอล

อาการน้องหมาที่กินยาพาราเข้าไปจะมีอาการน้ำลายฟูมปาก อาเจียน ซึม หายใจลำบาก เหงือกมีสีคล้ำ อุ้งมือบวม อุ้งเท้าบวม หน้าบวม และเบื่ออาหาร หลังจากนั้นตับของน้องหมาจะถูกทำลาย ปัสสาวะออกมาอาจมีสีคล้ำเนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย  มีอาการดีซ่านออกมาให้เห็น ชัก และ เสียชีวิตได้ภายใน 18-36 ชั่วโมง  แต่หากนำน้องไปพบสัตวแพทย์ก่อน 4 ชั่วโมงหลังกินยาเข้าไป สัตวแพทย์จะทำให้น้องหมาอาเจียนออกมาโดยการฉีดยา ล้างท้อง หรือ ใช้ยาที่สามารถดูดซับสารพิษออกมาได้

แอสไพริน

 แอสไพริน หรือ ยาแก้อักเสบ เป็นยาที่นิยมรองลงมาจากยาพารา ที่เป็นยาแก้ปวดลดไข้ มีความปลอดภัยต่อคน แต่ในน้องหมานั้นหากได้รับยาแอสไพรินที่ไม่ถูกต้องก็จะส่งผลให้เกิดพิษร้ายแรงมาก และ ทำให้น้องหมาที่ได้รับยาเข้าไปมีอาการระคายเคืองกระเพาะอาหาร มีเลือดออก เลือดไหลไม่หยุด หรือการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และในรายที่หนัก อาจจะส่งผลให้เกิดไตวายได้เลยค่ะ

ไอบูโปรเฟน

 ไอบูโปรเฟน เป็นยาใกล้เคียงกับแอสไพริน คือช่วยบรรเทาอาการปวด ลดไข้ และเมื่อน้องหมาได้รับตัวยาชนิดนี้เข้าไป ผลที่ตามมาก็คือ เกิดผลกระทบในการไหลเวียนของเลือด และขัดขวางการผลิตสารที่ช่วยป้องกันเยื่อบุในกระเพาะอาหาร อาการข้างเคียงที่น้องหมาได้รับยาเข้าไปจะมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ไตวายเฉียบพลัน ชัก และ เสียชีวิตได้

 

การรักษาของสัตวแพทย์เมื่อน้องหมากินยาพารา

  1. ถ้าน้องหมากินพาราเซตามอลยังไม่เกิน 4 ชั่วโมงสัตวแพทย์อาจทำให้น้องหมาอาเจียนโดยการฉีดยาให้อาเจียน หรือ อาจล้างท้อง หรือให้ยาที่ดูดซับสารพิษ เช่น อุลตร้าคาร์บอนเป็นต้น
  2. การให้ยาต้านพิษพาราเซตามอล ซึ่งตัวยานี้ราคาค่อนข้างสูง ร่วมกับการให้ วิตามิน C
  3. การให้สารน้ำเข้าสู่เส้นเลือด
  4. การให้ออกซิเจนกรณีหมาหอบมากๆ
  5. หมาควรอยู่ในความดูแลของสัตวแพทย์อย่างน้อย 2-3 วัน

 

สุดท้ายนี้ยาพาราของคนถึงแม้ว่าจะมีฤิทธิ์การรักษาเหมือนกันแต่ยาบางอย่างก็ไม่สามารถใช้ในสัตว์เลี้ยงของเราได้ ดังนั้นเมื่อเราสังเกตเห็นน้องหมาเรามีอาการป่วยก็ควรพาน้องหมาไปหาสัตวแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป ไม่ควรที่จะนำยาของเรามาให้น้องกิน นอกจากอาการไม่ดีขึ้นแล้ว บางทีน้องอาจจะแย่ลงไปกว่าเดิมเลยทีเดียว ดังนั้นเพื่อน้องหมาที่เรารักควรดูแลและเอาใจใส่น้องหมาด้วยนะคะ

เพิ่มเติม

โพสล่าสุด

โรคพยาธิหนอนหัวใจในสุนัข อาการเป็นอย่างไรนะ

โรคพยาธิหนอนหัวใจ พยาธิหนอนหัวใจ  เป็นพยาธิที่อยู่ในกระแสเลือด และ ทราบหรือไม่คะว่ามัจจุราช หรือ พาหะของโรคนี้นั้นอยู่ใกล้ตัวเราเหลือเกิน ไม่ใช่อะไรอื่นไกลหรอกค่ะ ก็เจ้ายุงร้ายนั่นเองค่ะ  พยาธิชนิดนี้สามารถติดต่อกันได้โดยผ่านยุงที่ไปกัดสุนัขที่มีตัวอ่อนของพยาธิชนิดนี้ในกระแสเลือด...

โรคตับในน้องหมา อาการเป็นอย่างไร

โรคตับในน้องหมา ตับเป็นอวัยวะสำคัญ ซึ่งมีหน้าที่หลากหลาย เช่น ย่อยและเปลี่ยนแปลงสารอาหาร กำจัดของเสียจากเลือด และยังเป็นอวัยวะที่เก็บสะสมวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย นอกจากนี้ยังมีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องภูมิคุ้มกันของร่างกายและการแข็งตัว...

น้องหมาอายุเท่าไหร่ ควรฉีดวัคซีนนะ

อายุน้องหมาเท่าไหร่ ควรฉีดวัคซีน ปัจจุบันการเลี้ยงน้องหมาแตกต่างไปจากอดีต เพราะเนื่องจากปัจจุบันการเลี้ยงน้องหมา ได้รับความรัก และ ความสำคัญ เหมือนกับสมาชิกคนนึงในครอบครัวนั่นเอง ปัจจุบันการเลี้ยงน้องหมาจึงได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างมาก รวมไปถึงการฉีดวัคซีน...

อาการ น้องหมา ฮีทสโตรก หรือ ลมแดดเป็นอย่างไรนะ

อาการหมาฮีทสโตรก หรือ ลมแดด อาการฮีตสโตรกในหมา (Heat stoke) หรือโรคลมแดด เป็นภาวะที่อุณหภูมิร่างกายหมาเพิ่มขึ้นสูงมาก ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ทำให้หมาถึงตายได้  แม้ไม่ออกแดดก็เกิดอาการฮีตสโตรกได้เช่นกัน ...

น้องแมวถ่ายเหลว ทำยังไงดี

น้องแมวถ่ายเหลว ทำยังไงดี มีสาเหตุมาจากอะไร น้องแมวถ่ายเหลว เป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่เจ้าของน้องแมวส่วนใหญ่รู้สึกกังวลไม่น้อย เพราะอาการท้องเสียอาจจะลุกลามไปสู่การเป็นโรคร้ายต่างๆ ได้ ทั้งยังอาจจะเป็นสัญญาณเตือนของการโรคน้องแมวที่น่ากลัวอีกด้วย ดังนั้นถ้าคุณกำลังกังวลกับเรื่องแมวถ่ายเหลวอยู่ ลองมาดูสาเหตุของอาการดังต่อไปนี้   สาเหตุที่น้องแมวถ่ายเหลว 1.ความผิดปกติทางลำไส้ ความผิดปกติทางลำไส้ของแมวหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร...
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img

หมวดหมู่